วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทำไมต้องใช้แมวขอฝน

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
     การขอฝน ของคนไทยถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีมานาน คู่กับสังคมของคนไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม   จำเป็นที่จะต้องใช้ในการอุปโภค บริโภค ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ในงานด้านการเกษตร ด้วยเหตุที่ฟ้าฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล คนไทยจึงอยู่นิ่งดูดายไม่ได้ เพื่อความอยู่รอดจึงต้องหาวิธีอะไรสักอย่างที่จะทำให้ฝนตกลงมา
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
               การศึกษาค้นคว้า เรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝน ว่ามีความสำคัญอย่างไร  มีวัถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้
1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และวิธีการแห่นางแมวที่ถูกต้อง
2.เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นำมาหาข้อเท็จจริง
3.เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละแหล่งมารวมกัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์

สมมติฐานของการศึกษา
            1.การแห่นางแมวขอฝนมีมาตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้วจนถึงปัจจุบัน
                2.คนอีสานจะมีความเชื่อเรื่องการแห่แมวขอฝนมากที่สุด
               
ระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา
            การศึกษาค้นคว้าเรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ..2556 ถึงวันที่ 24 เดือน ธันวาคม พ..2556

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รู้ถึงความหมายของการแห่นางแมวที่ถูกต้องและแท้จริง
2.ได้รู้ว่าประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญต่อคนไทย โดยเฉพาะคนอีสานอย่างไร
3.เข้าถึงการจัดทำประเพณีการแห่นางแมวขอฝนอย่างแท้จริง

3.  ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
         ขอบเขตด้านเนื้อหา
1.ศึกษาประวัติความเป็นมา และวิธีการแห่นางแมวที่ถูกต้อง
2.ศึกษาแนวทางการปฏิบัติของพิธีการของประเพณีแห่นางแมวขอฝน
3.เผยแพร่ความรู้ และสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีแห่นางแมวขอฝน

นิยามศัพท์เฉพาะ
            1.ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่าขนบธรรม เนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น
- ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
- ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา
                2.นางแมว หมายถึง แมวที่เป็นตัวเมียสีดำเพื่อใช้ในการประกอบพิธี



กรอบแนวคิดในการศึกษา
 แนวคิดเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมแห่งวิถีชีวิต
ประเพณีวัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมของคนที่สร้างขึ้นตามความเชื่อของคนในสังคมที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดให้คนในสังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นแนวปฏิบัติที่จะทำให้สังคมไปในแนวทางเดียวกัน  ส่งผลในด้านจิตใจให้คนในสังคมมีที่ยึดเหนี่ยวกันไว้เพื่อการดำรงอยู่ของสังคม





บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาค้นคว้า เรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ประวัติความเป็นมา
นานมาแล้วก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เราต่างก็ตั้งบ้านแปลงเรือน อยู่กันเป็นกลุ่มๆ ตาม
เผ่าพันธุ์ของแต่ละเชื้อชาติ แล้วแต่หัวหน้าเผ่าใดจะมีความสามารถหรือฉลาดเฉลียวที่จะรวบรวมผู้คนมาเป็นสมัครพรรคพวกได้มากๆ แต่ละกลุ่มก็จะตั้งกฎระเบียบแบบแผนมาเป็นข้อบังคับให้ลูกบ้านใช้
ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ถ้าผู้ใดละเมิดกฎที่ตั้งไว้ ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษตามที่แจ้งไว้ในกฎของเผ่าพันธุ์นั้นๆ เมื่ออยู่ร่วมกันเนิ่นนานจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จึงทำให้
ออกลูกออกหลานมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่โต ผู้คนก็มากขึ้นตามปกติ จึงทำให้เกิดต่างความคิดเห็นของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ความขัดแย้งเรื่องราวต่างย่อมเกิดขึ้น จึงพาสมัครพรรคพวกแยกจากกลุ่มใหญ่
ไปหาที่ตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปลงเรือนทำมาหากินกันตามความพอใจของตน และผู้นำก็ต้องจัดระเบียบตั้งกฎขึ้นใช้ในการปกครองผู้คนในเผ่าของตนเช่นกันตลอดมา เมื่อประชากรมากขึ้น ย่อมมีคน
ฉลาดมากขึ้น รู้จักคิดรู้จักพิจารนาดูดินฟ้าอากาศ หาพิธีเอาชนะธรรมชาติเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และเป็นผู้ที่เคารพเชื่อถือของคนทั่วไป สิ่งที่พยายามค้นคิดเฝ้าสังเกตฝนตก ว่ามันมักจะตกวันไหนบ่อยๆ
สมัยก่อนไม่มีวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ แต่เขาจะนับวันกันตามจันทรคติ คือยึดเอาการหมุนเวียนของการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็นหลักเกณฑ์ วันที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้นับกันก็มีสองอย่างคือ ข้างขึ้น
และข้างแรม การนับวันตามจันทรคตินี้ เขาใช้กันมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว พระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้พระสาวกของพระองค์บงเกศาในวันโกนซึ่งก่อนวันพระหนึ่งวันตามธรรมชาติแรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์ จะทำให้อากาศแปรปรวน จึงทำให้เกิดความกดอากาศสูงบ้างต่ำบ้าง จึงทำให้ไอน้ำ ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่าบนท้องฟ้าเกิดการรวมตัวกันมากขึ้น จึงทานน้ำหนักไม่ไหวแล้วตกลงมาเรียกว่าน้ำฝน สิ่งนี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ท่านหมอผีทั้งหลายไม่ทราบที่มาที่ไปว่าทำไมจึงเกิดเหตุดังกล่าวนั้นหรอก ได้แต่จดจำไว้ว่าเมื่อไรฝนมันจะตกลงมา แล้วเก็บข้อมูลไว้ เมื่อถึงหน้าฝนเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกชาวบ้านต้องการน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงพืชผลทำมาหากินตามฤดูการ ก็พากันไปหาหมอผีมาทำพิธีขอฝนจากสิ่งที่คิดว่ามีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผี,เทวดา,เทพเจ้าฯลฯ แล้วแต่ที่เขาเล่าเรียนสืบทอดกันมาเมื่อตกลงกันดีแล้ว หมอก็จะกำหนดวันนัดทำพิธีการขอฝน โดยการเจาะจงลงไปเลยว่าวันโกน หรือวันพระที่จะถึงนี้นะ ให้เลือกเอาวันใดวันหนึ่ง แล้วผู้นำหมู่บ้านนั้นๆ ก็จะเรียกลูกบ้านมาประชุมเพื่อบอกกล่าวกันให้รู้ทั่วทั้งหมู่บ้าน แล้วแบ่งงานมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกันตามแต่ใครจะถนัดที่จะช่วย เช่นกลุ่มหนึ่งช่วยกันทำคานหาม (ปัจจุบันจะเห็นได้บ้างในงานแห่นาคไปอุปสมบท) ช่างที่มีฝีมือจะประดิษฐ์ตบแต่งได้สวยมาก แต่ที่ไม่มีฝีมือก็เอาเพียงแค่ใช้งานได้เท่านั้น อาจใช้ไม้ไผ่ท่อนเดียวความยาวสัก 4 ศอก ก็พอแล้ว สำหรับแขวนตะกล้าหรือชะลอมขังแมวตัวใหญ่ๆ ไว้ในนั้น ใช้คน 2 คนห้ามหัวท้าย แมวอยู่กลางเมื่อถึงกำหนดวันนัดชาวบ้านจะมีความตื่นเต้นกันมากโดยเฉพาะพวกเด็กๆนี่ใจจดใจจ่ออยากเห็นขบวนแห่กันเต็มที กลุ่มหนุ่มสาวก็ใจเต้น
ระทึกอยากจะเห็นคู่รักของตนแต่งตัวชุดอะไร แต่ระบ้านที่เส้นทางขบวนแห่จะต้องผ่านมา เขาจะจัดเตรียมน้ำไว้เยอะๆ ผู้นำขบวนการจะจัดหาสุราปลาปิ้งมาเลี้ยงกันอย่างทั่วถึง สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือ
เถิดเทิง (กลองยาว) ปี่, ฉิ่ง, กรับ, ฉาบ, ฆ้อง และนักร้องประจำวง ครั้นได้เวลาบ่ายแก่ๆ ชาวบ้านเรียกแดดร่มลมตก หมอผีก็จะทำพิธีกรรมของเขาตามที่ถ่ายทอดกันมา เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็สั่งจัดขบวนตั้ง
แถวคณะกลองยาวนำหน้าตามดัวยนางรำทั้งชายและหญิงแล้วก็มีสองคนช่วยกันหามแมวที่อยู่ในชะลอม จะมีผู้นำหมู่บ้านและหมอผีเดินเคียงข้างคนหามแมวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธา
เชื่อถือ แผ่นดินที่แห้งแล้งเพราะไร้ฝนตกมานาน ถูกแดดเผามาตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ๆ จึงทำให้ร้อนระอุ ทางเดินเป็นฝุ่นฟุ้งขี้นประดุจหมอกควันซึ่งเกิดจากฝ่าเท้าของฝูงชนในขบวนแห่นั้นเอง พอผ่านบ้านใด
เขาก็จะเอาน้ำที่เตรียมไว้สาดลดใส่แมว น้ำที่ตกลงสู่ผืนแผ่นดินที่กำลังร้อนระอุ ทำให้เกิดปฏิกิริยาร้อนแรงขึ้นอีกทำให้ผู้คนในขบวนแห่กระโดดโลดเต้นแฝงไปด้วยความสนุกสนาน และด้วยอิทธิฤทธิ์ของ ส
.ร.ถ.(สุราเถื่อน) จึงลืมความทุกข์ยากไปได้ชั่วขณะ ขบวนแห่จะดำเนินการไปจนทั่วทุกครัวเรือน ทำให้น้ำนองเจ่งไปทั่วทางเดิน เพราะชาวบ้านเอาน้ำมาราดลดแมวนั่นเอง ครั้นถึงยามค่ำคืน ความร้อนยิ่ง
เพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะตามกฎของธรรมชาติ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ผืนแผ่นดินก็จะคลายความร้อนขึ้นมาแล้วลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า (ช่วงนี้จะเข้าสู่ทฤษฎีการทำฝนเทียมระดับหนึ่ง) เมื่อความร้อนลอยสูงขึ้นๆ ไปกระทบกลุ่มเมฆที่มีละอองน้ำเข้า ละอองน้ำก็จะลอยหนีความร้อนขึ้นสู่เบื้องบน จึงไปกระทบความเย็นเข้าและเกาะจับรวมตัวกันมากขึ้นจึงทานน้ำหนักไม่ไหวทำให้ต้องลอยต่ำลงมาแล้วกลายเป็นหยดน้ำที่เราเรียกว่าฝนตก

พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม ,เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน
ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม, เป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใด
แมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธี
แห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้ง ของนางแมว
3.องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
1. กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
2. แมวสีดำตัวเมีย 1 ตัว
3. เทียน 5 คู่
4. ดอกไม้ 5 คู่
5. ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน
4.วิธีแห่งนางแมว
1.ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่
บ้าน
2. หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่งก็ได้
3. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ 1 ตัวใส่ในกะทอ ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้าป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก
4. ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่าคำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆไปในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาดหรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้องและสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆโดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆเข้า แมวตายวันละตัว







คำเซิ้งแต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกันแต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมี
การพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้

5.คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว
เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้
ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำ
ลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเห
มิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เทลงมา



บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
            การศึกษาค้นคว้า เรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร มีวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.เลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
             เรื่อง ประเพณีแห่นางแมวขอฝน  เนื่องจากเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน  และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว  เป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน เป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวพันธ์กับธรรมชาติและความเชื่อของมนุษย์  เป็นประเพณีที่ควรสืบต่อไปในอนาคต
2.พบครูที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำ
             ปรึกษาหัวข้อเรื่องที่เลือกศึกษา  และวิธีการดำเนินการศึกษาในหัวข้อต่อไป
3.รวบรวมข้อมูล
           รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพิธีการของการแห่นางแมว แนวทางการปฏิบัติของพิธีการของประเพณีแห่นางแมวขอฝนทางอินเทอร์เน็ต
4.วิเคราะห์ข้อมูล
             นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตมาวิเคราะห์ตามจุดประสงค์ของการศึกษา           
5.สรุปผล
             เป็นการสรุป  อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า  และให้ข้อเสนอแนะ
6.จัดทำผลงาน(ฉบับร่าง)
             เพื่อให้ครูที่ปรึกษาได้ตรวจสอบและแนะแนวทางการแก้ไข


7.ส่งการค้นคว้า(ฉบับร่าง)ต่อครูที่ปรึกษา
             ครูที่ปรึกษาได้ตรวจสอบและแนะแนวทางการแก้ไข
8.แก้ไขผลงาน
             แก้ไขผลงานตามที่ครูที่ปรึกษาได้แนะนำ เพื่อผลงานจะได้ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ
9.จัดทำผลงาน
             จัดทำผลงานเป็นรูปเล่มรายงาน 
10.นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
             ส่งผลงานฉบับจริง



บทที่ 4
ผลการศึกษา

            จากการศึกษาค้นคว้า เรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร มีวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
ผลการศึกษา
พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรมเจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นต้น ดังนั้น ถ้ามนุษย์อยากให้เทวะคือน้ำฝนที่ดีไม่ใช่ดีเปรสชั่น มาเยี่ยมตามกาลเวลา มนุษย์ก็ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม เพราะคนที่มีศีลมีธรรมท่านจึงเรียกว่า "เทวะ" ทั้งๆ ที่เป็นคน เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เทวะคือฝน กับเทวะคือคนผู้มีคุณธรรม ย่อมจะมาหากันเพราะเป็นเล่ากอแห่งเทวะด้วยกัน เหมือนพระย่อมไปพักกับพระเป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของนางแมวนอกจากแมวจะเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีเกิดและพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมไทยแล้ว แมวยังเข้ามามีส่วนร่วมในอีกประเพณีสำคัญของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นั่นคือ พิธีแห่นางแมวขอฝน คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้ และเมื่อถึงฤดูฝน หากฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว (แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ ตามภาพ) ตัวที่มีรูปร่างปราดเปรียว สวยงามตั้งแต่ 1-3 ตัว นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่ ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณีผู้หญิงที่เข้าร่วมในพิธีแห่ จะผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้สดดอกโตๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา เมื่อขบวนแห่ถึงบ้านไหน แต่ละบ้านจะต้องออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา และมีความเชื่อว่า ถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ภายใน 3 วันหรือ 7 วัน นอกจากนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝน จะเป็นการช่วยเรียกให้ฝนตกแล้ว ยังถือว่าพิธีนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการช่วยเหลือกันในการประกอบพิธีอีกด้วย
องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
1.             กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
2.             แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว
3.             เทียน 5 คู่
4.             ดอกไม้ 5 คู่
5.             ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน
วิธีแห่นางแมว
1.             ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน
2.             หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่ง หรือกระบุงก็ได้
3.             จับเอาแมวตัวเมียสีดำ หรือแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ)  1 ตัวใส่ในกะทอ  ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก
4.             ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่า คำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆ ไป ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาด
หรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆ โดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆ เข้า แมวตายวันละตัว
 


แห่นางแมว อิสาน อีกแบบหนึ่ง
ให้เอาแมวมา 1 ตัว ใส่ในกระทอ มีคนหามตั้งคายขัน 5 หามประกอบพิธีป่าวสัคเค เทวาเชิญเทวดาลงมาบอกกล่าวขอน้ำฝนกับเทวดาว่า จะขอฝนด้วยการใช้พิธีแห่นางแมว แล้วสั่งให้พวกหามแมวแห่เซิ้งไปตามถนนในหมู่บ้าน มีคนทั้งชาย หญิง และเด็กเดินถือดอกไม้ตามไปถึงเรือนหลังไหน คนในเรือนหลังนั้นก็เอาน้ำสาดมาใส่ทั้งแมวและคน เล่นเอาทั้งแมวทั้งคนหนาวไปตามๆ กัน ในบางแห่งจะมีการผูกเอวคนหัวล้าน 2 คน ทำฮึดฮัดจะชนกันตามกระบวนไปด้วย บางจุดก็หยุดให้หัวล้านชนกัน สลับคำเซิ้งชาวก็บ้านจะเอาน้ำรดแสดงไปเรื่อยๆ
จะเซิ้งอย่างนี้เริ่มจาก 3 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม หรือรอบหมู่บ้านแล้วหยุด พอหยุดไม่นานฝนก็จะตกฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าตามมา 
คำเซิ้ง
แต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกัน แต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้
ตัวอย่าง คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว แบบที่ 1
"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊
 
ตัวอย่าง คำเซิ้งนางแมว แบบที่ 2
เซิ้งอันนี้เผิ่นว่า เซิ้งนางแมว ย่างเป็นแถวกะนางแมวออกก่อน
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
 เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง กะขอฟ้าขอฝน
 ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)

เทลงมากะฝนเทลงมา ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา (ซ้ำ)
แห่นางแมว ภาคกลาง
ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนของพวกชาวบ้าน โดยเฉพาะภาคกลาง ปีใดที่ฝนมาล่าหรือแล้งผิด ปกติ อันจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พืชในไร่นาให้ผลไม่เต็มที่ อาจถึงกับให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงได้ ชาวบ้านก็จะชุมนุมปรึกษาหารือกันเพื่อทำพิธีแห่นางแมวตามที่ทำสืบเป็นประเพณี เพราะเชื่อว่าภายหลังเมื่อแห่นางแมวแล้ว ไม่ช้าฝนก็จะเทลงมา

ลักษณะความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติช่วงเวลากรณีฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการเพาะปลูก สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อดั้งเดิม " ฝน" เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี "แห่นางแมว"


สาระ

ป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งไปได้
พิธีกรรม
พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์คนสำคัญของไทย ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้
"นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว
นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน
ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที
มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที
มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก
พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว
คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย
พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว
มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา

เมื่อเคลื่อนขบวนแห่ ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี ถ้อยคำกระเดียดไปทางหยาบโลน เมื่อแห่ถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาดลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่ จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า ข้าวปลา ไข่ต้ม
หรือของกินอย่างอื่น ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้ากระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมเลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ ไปจนกว่าฝนจะตก
ซึ่งสรุปเนื้อหาโดยรวมคือ "ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด ก็จะร้องเชื้อเชิญให้ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"หรือตะข้องที่ใส่แมว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งไปได้
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
            การศึกษาค้นคว้า เรื่อง ประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร   สามารถสรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ  ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
                การศึกษาเรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร สรุปได้ดังนี้
1.จะเห็นว่าการจัดทำพิธีแห่นางแมวขอฝนแตกต่างกันออกไป เนื่องจากอยู่คนละภูมิภาค จึงไม่มีการจัดทำพิธีที่ผิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถูกไปซะทุกอย่าง
2.จากการที่สืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่างๆ สามารถสรุปได้ว่า ประเพณีแห่แมวขอฝนทางภาคอีสานจะมีความน่าเชื่อถือมากทีสุด
 3.จากการเปรียบเทียบข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆมีความคล้ายคลึงกันมากและหลายแหล่งมีเนื้อหาเดียวกัน ข้อมูลจึงมีไม่มีน้ำหนักมากนักจึงทำให้ข้อมูลไม่มีความชัดเจนมากนัก

อภิปรายผล
การศึกษาค้นคว้า เรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.เนื่องจากผู้คนอยู่คนละภูมิภาค และไม่ทราบแน่ชัดว่าประเพณีแห่นางแมวขอฝนเป็นของภาคไหนกันแน่ จึงไม่สามารถระบุได้ว่าภาคไหนมีการจัดทำพิธีที่ถูกต้อง
2. เนื่องจากคนอีสานได้จัดทำขึ้นทุกๆปี เพราะคนอีสานมีความเชื่อเรื่องพิธีกรรมมาก และมีอย่างยาวนานที่สุด จากการเท่าที่ได้ศึกษามา และภาคอีสานอยู่ในพื้นที่ราบสูง แห้งแล้ง ไม่ค่อยมีน้ำใช้ แต่ความต้องการของน้ำคนอีสานมีมาก เพราะคนอีสานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร การทำพิธีแห่นางแมวขอฝนของภาคอีสานจึงมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
3.เนื่องจากแหล่งข้อมูลไม่ค่อยมีน้ำหนัก และแต่ละแหล่งมีเนื้อหาเหมือนกัน ไม่มีข้อเปรียบเทียบ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลมีข้อจริงเท็จประการใด เพราะไม่ได้ลงไปสัมภาษณ์ในพื้นที่จริง

ข้อเสนอแนะ
            การศึกษาเรื่องประเพณีแห่นางแมวขอฝนมีความสำคัญอย่างไร มีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ต้องการให้นำประเพณีนี้ไปเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก
2.ไม่เชื่อว่าได้ผลจริงก็ไม่ควรลบหลู่
3.ควรจัดทำต่อไปเรื่อยๆให้คนรุ่นหลังได้เห็นและได้ศึกษา












บรรณานุกรม

-                   http://www.baanmaha.com/community/thread33707.html  สืบค้น วันที่ 15 ธันวาคม 2556
-                   http://www.kruchuen.com/index.php?option=com_content&view=article&id=18:2011-06-28-08-15-51&catid=5:-article&Itemid=3    สืบค้น วันที่ 16 ธันวาคม 2556
-                   http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1192536000114    สืบค้น  วันที่15 ธันวาคม 2556
-                   http://web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/?name=news&file=readnews&id=2557     สืบค้น วันที่ 20 ธันวาคม 2556
-                   http://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=75335       สืบค้น วันที่ 20 ธันวาคม  2556

ประวัติผู้ศึกษา
ชื่อ-สกุล                   นายณัฐกฤต      พระนา
ชื่อเล่น                    ปรัช
วันเกิด                    5 เดือนธันวาคม พ..2539
อายุ                        17 ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน              1 หมู่ 5.ขามป้อม อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมายเลขโทรศัพท์      0921378392
นิสัยส่วนตัว              ขี้เล่น ติดโทรศัพท์
ความสามารถพิเศษ     แต่งกลอนสุภาพ
คติประจำใจ             ขอแค่มั่นใจ มีขวากหนามเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น
ความใฝ่ฝันในอนาคต   เป็นพนักงานราชการ
งานอดิเรก                เล่นเฟส ดูทีวี


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2565 เวลา 07:50

    What to Know about the Basics of Baccarat
    Learn how to 카지노사이트 play Baccarat in your local tavern, casinos, restaurants, and much more in 바카라 New Jersey. For the best deccasino reason, this one is a very common type of

    ตอบลบ